การสอนเขียนเรียงความ
ประสาร บุญเฉลียว (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ) นายกสมาคมครูมาสเตอร์ภาษาไทย
ข้าพเจ้าเป็นครูภาษาไทย และสอนภาษาไทยเป็นระยะเวลาประมาณ 38 ปี
ดำรงตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษระดับ 8 โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
จังหวัดอุบลราชธานี จึงมีความชำนาญการพิเศษในการสอนวิชาภาษาไทย
โดยเฉพาะการสอนเขียนเรียงความ
ความหมายของเรียงความตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546: 468)
อธิบายคำว่าเรียงความไว้ว่า (น.) เรื่องที่นำข้อความต่างๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราว แต่งหนังสือที่ใช้พูด
เขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะที่แต่งเป็นร้อยกรอง
การเขียนเรียงความคือ
การนำถ้อยคำมาผูกประโยคแล้วเรียบเรียงเป็นเรื่องราว เพื่อแสดงความรู้
ความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิด
และประสบการณ์ของผู้เขียน การจะเขียนเรียงความได้ดีต้องมีความรู้
ความเข้าใจในเรื่องของการใช้คำ
ปัญหาที่พบตลอดมาในการสอนเด็กมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลายคือ
นักเรียนเขียนเรียงความไม่เป็น ไม่รู้จะเขียนอะไร แม้จะรู้ว่าจะเขียนอะไรก็ยังมีความบกพร่องในเรื่องการใช้คำ
ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้โดย สอนการใช้คำให้ถูกต้องก่อน จึงสอนเรียงความ
และคุณครูควรศึกษา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ดังนี้ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน
ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็น
พลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า
ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
มีจุดหมายหลายข้อ และที่ครูภาษาไทยควรพิจารณาเป็นพิเศษคือ
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข... มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งเน้น
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ดังนี้
สมรรถนะ [สะมัดถะนะ] น. ความสามารถ
สำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ
๕ ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสารมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด
ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก
และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม
รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจน
การเลือกใช้วิธีการสื่อสาร
ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ
เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง
ๆ ที่เผชิญ
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล
คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ
ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง
ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม
และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก
และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน
การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ
นอกจากนี้
สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเอง
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด มาตรฐานการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 5 มาตรฐาน 5 สาระ ดังนี้
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1
ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ
แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ 2 การเขียน
มาตรฐาน
ท 2.1
ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ
และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง
มีประสิทธิภาพ
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน
ท 3.1
สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด
และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น
วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
เรียนรู้อะไรในภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง…
· การเขียน การเขียนสะกดตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสารรูปแบบต่าง
ๆ การเขียนเรียงความ ย่อความ เขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า
เขียนตามจินตนาการ เขียนวิเคราะห์วิจารณ์ และเขียนเชิงสร้างสรรค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด จำนวนตัวชี้วัดชั้นปี
/
ช่วงชั้น จำแนกตามระดับชั้น ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้
|
จำนวนตัวชี้วัดชั้นปี / ช่วงชั้น จำแนกตามระดับชั้น
|
ม.1
|
ม.2
|
ม.3
|
รวม
|
ม.4-6
|
1. ภาษาไทย
|
35
|
32
|
36
|
103
|
36
|
รวม
|
35
|
32
|
36
|
103
|
36
|
คุณภาพผู้เรียน
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3…
มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
เขียนบรรยายบันทึกประจำวันเขียนจดหมายลาครู เขียนเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ เขียนเรื่องตามจินตนาการ
และมีมารยาทในการเขียน
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6…
มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด และครึ่งบรรทัด เขียนสะกดคำ
แต่งประโยค และเขียนข้อความ
ตลอดจนเขียนสื่อสาร โดยใช้ถ้อยคำเหมาะสม
ใช้แผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิด เพื่อพัฒนางานเขียน
เขียนเรียงความ เขียนย่อความ
จดหมายส่วนตัว กรอกแบบรายการต่างๆ
เขียนแสดงความรู้สึก และความคิดเห็น
เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ และมีมารยาทในการเขียน
องค์ประกอบของเรียงความ มี 3 อย่างคือ
คำนำ คือส่วนที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในงานเขียน
เป็นจุดเริ่มต้นที่จะ
โยงความสัมพันธ์ไปสู่เนื้อหา
วิธีการเขียนคำนำมีหลายวิธี ส่วนจะเลือกวิธีใดนั้นควรพิจารณาให้เข้ากับเรื่องที่จะเขียนเป็นสำคัญ เช่น การเล่าเรื่อง การยกข้อความซึ่ง
ตัดตอนมากล่าว การกำหนดหรือให้ความหมายของคำ การยกคำประพันธ์ คำคม หรือสำนวน สุภาษิต การตั้งคำถามหรือปัญหาที่น่าสนใจเพื่อให้ผู้อ่านอยากทราบคำตอบ
เนื้อเรื่อง คือส่วนที่ผู้เขียนเสนอสาระสำคัญของเรื่อง
ซึ่งต้องแสดงความรู้
ความคิด
หลักฐานและข้อเท็จจริงต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและสมบูรณ์ ตรงตามหัวข้อเรื่องที่จะเขียน ควรเขียนชื่อเรื่องไว้กลางหน้ากระดาษ การเขียนเรียงความจะตรงประเด็นต้องอาศัยการวางโครงเรื่องที่ดี
และการเขียนจะชัดเจนแจ่มแจ้งต้องอาศัยการใช้ภาษาที่เหมาะสม เว้นที่ว่างริมกระดาษไว้ทั้งด้านซ้ายและขวาพองาม ไม่เขียนฉีกคำ ผะอบ โปษะกฤษณะ ( 2526 : 45 ) ได้กล่าวถึงลักษณะการใช้ภาษาที่ดีจะต้อง มีความชัดเจน มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีความสัมพันธ์ดี ดำเนินความไปเป็นลำดับต่อเนื่องกัน ไม่วกวน มีความกว้างขวาง ผู้อ่านอ่านแล้วได้เพิ่มพูนทั้งความรู้และความบันเทิง มีความประณีต และมีความไพเราะงดงาม
คำลงท้าย คือส่วนที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจสมใจ คำลงท้ายที่
ดีจะต้องสัมพันธ์สอดคล้องกับคำนำและเนื้อเรื่อง วิธีการเขียนคำลงท้ายมีหลายวิธี
เช่น การเขียนคำลงท้ายด้วยการย่อสาระสำคัญของเนื้อเรื่องเพื่อย้ำความ การเขียน คำลงท้ายเพื่อฝากความคิดเห็น การเขียนคำลงท้ายด้วยคำประพันธ์ คำคม หรือสำนวน สุภาษิต (อย่าใช้ซ้ำกับคำนำ) การเขียนคำลงท้ายด้วยคำตอบ
เมื่อตั้งปัญหาหรือคำถามในคำนำ
แนวการเขียนเรียงความเพื่อให้นักเรียนเขียนได้นี้ นี้ ศาสตราจารย์ฐะปะนีย์
นาครทรรพ ท่านได้นำเสนอไว้ว่า
ขั้นตอนการเขียนเรียงความมี 3 ขั้นตอน คือ
1.
เขียนแนวคิดให้กระจ่าง
2. ร่างโครงเรื่องให้เป็นระเบียบ
3. เรียบเรียงเนื้อความให้สมบูรณ์
1. เขียนแนวคิดให้กระจ่างการมีแนวคิดก่อนลงมือเขียนเรียงความนั้นมีความ
จำเป็นและสำคัญมาก เพราะหากขาดแนวคิดที่จะเขียนแล้ว
การเขียนย่อมไร้ทิศทาง เป็นสาเหตุให้เขียนวกวน
จับต้นชนปลายไม่ถูก
การจะกำหนดแนวคิดได้นั้น นักเรียนจะต้องตีความจากหัวข้อเรื่องให้ได้ถูกต้องเสียก่อน
เช่น ถ้าจะสอนเรื่อง “ชีวิตคือการเดินทาง” ครูอาจใช้เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อช่วยให้นักเรียนคิดให้ได้เสียก่อนว่า
เราจะเปรียบชีวิตกับการเดินทางได้อย่าง คำตอบอาจจะได้ว่า
การเดินทางให้ประสบการณ์แก่เรา เช่นเดียวกับวันเวลาที่ผ่านไปในชีวิตก็ให้ประสบการณ์เช่นกัน
ส่วนการเก็บเกี่ยวประสบการณ์หรือการรู้จักเลือกประสบการณ์หรือสิ่งที่เราพบเห็นมาใช้นั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเลือกให้เหมาะสมแก่ตัวเรา
ดังนั้น ต้องเน้นที่การเป็นคนช่างสังเกต
ถ้านักเรียนคิดแนวคิดหลักออกมาได้เช่นนี้แล้ว นักเรียนก็พอนึก ออกว่าตนจะเขียนเรื่องไปในแนวทางใด
3. ร่างโครงเรื่องให้เป็นระเบียบ วิธีคิดโครงเรื่องนั้น อาจใช้วิธีคิดออกมาเป็น
ประโยคย่อยก่อน แล้วจึงนำความคิดเหล่านั้นมาเรียงลำดับใหม่ให้เหมาะสม
เช่น
- การเดินทาง ให้ประสบการณ์แปลกใหม่แก่ชีวิต
- ประสบการณ์ต่าง ๆ มีประโยชน์ช่วยให้เราเห็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
- ตัวอย่างที่เห็นจากบุคคลอื่น เป็นแนวทางให้นำมาคิดปรับใช้กับตนเองได้
- การเลือกประสบการณ์ดี ๆ มาใช้ ย่อมให้คุณประโยชน์แก่ผู้รู้จักเลือก
- คนเราสามารถนำสิ่งที่พบเห็นในชีวิตมาเป็นแบบอย่างหรือเป็นครูได้
- คนเราควรมีความคิดและวิจารณญาณมาขึ้นเมื่อวัยเพิ่มขึ้น
เมื่อได้หัวข้อของโครงเรื่องออกมาแล้ว นักเรียนก็จะมองเห็นแนวทางที่จะเขียนได้ชัดเจนขึ้น
สิ่งที่อาจจะช่วยนักเรียนได้คือ การตั้งคำถามเพื่อนำสนทนาไปสู่แนวคิด
การเขียนโครงเรื่องให้ได้ ต้องยอมเสียเวลาในห้องเรียนสำหรับขั้นตอนนี้
3. เรียบเรียงเนื้อความให้สมบูรณ์ เมื่อนักเรียนลงมือเขียนได้บ้างแล้ว บางคนอาจจะยังเขียนไม่ออก
ต้องช่วยตั้งคำถามนำความคิดต่อไป แต่ถ้าได้พยายามแล้วนักเรียนยังเขียนไม่ได้อีก
อาจต้องย้อนมาดูที่ปัญหาอื่น ๆ และหาทางแก้ไข
แล้วสอนเท่าที่นักเรียนจะสามารถทำงานได้โดยไม่รู้สึกเครียดจนเกินไป
เพราะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่ต้องอาศัยทัศนคติ และพื้นฐานที่ดีร่วมกับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
บางครั้งอาจจะจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียน
อย่างไรก็ตาม การเขียนเรียงความนี้
ต้องคำนึงถึงความรู้และประสบการณ์
ของนักเรียนเป็นสำคัญ หัวข้อเรื่องต้องเหมาะสมแก่วัยและชั้นเรียน
หรือเป็นสิ่งที่กำลังอยู่ในความสนใจ การเริ่มต้นเขียนต้องเริ่มจากง่าย
และใกล้ตัวนักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเขียนได้ด้วยความมั่นใจ
การเริ่มต้นที่ไม่ยากจะกระตุ้นให้นักเรียนอยากเขียน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
และที่สำคัญที่สุดในการฝึกทักษะการเขียนเรียงความควรให้นักเรียนได้เห็น
ตัวอย่างการเขียนเรียงความที่ดีในหัวข้อเรื่องที่เหมาะสมกับเด็กและไม่ยาวนัก ให้นักเรียนสังเกตการใช้ภาษา
ลำดับการเขียน เนื้อหา ฯลฯ จากนั้นให้นักเรียนได้มีโอกาสทดลองเขียนดูบ้าง
อาจจะให้เขียนคนเดียวหรือช่วยกันเขียนก็ได้ และฝึกเขียนบ่อย ๆ
ข้อพึงระวังในการเขียนเรียงความ (รศ.นพดล จันทร์เพ็ญ)
1. เขียนหนังสือให้อ่านง่าย รักษาความสะอาด และเขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้อง
2. ต้องย่อหน้าใหม่ทุกครั้งเมื่อจะเริ่มเขียนใจความใหม่
ๆ
3. ไม่ต้องมีคำขานรับ
เช่น ครับ จ้ะ ค่ะ หรือเขียนแบบสนทนาปราศรัย
4. อย่าเขียนแบบตอบคำถาม เช่นเขียนว่า 1....2....3....จะกลายเป็นการตอบข้อสอบไป
5. อย่าเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยโดยไม่จำเป็น
6. อย่าใช้สำนวนต่างประเทศ
เช่น เขามาในเพลง ทำไมถึงทำกับฉันได้
7. อย่าเขียนข้อความลอย
ๆ ต้องมีตัวอย่างอ้างอิงที่มีหลักฐาน และถ้ามีสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องประกอบบ้าง
ก็จะทำให้ได้คะแนนดี
8. อย่าใช้สำนวนไทยที่ไม่นิยม
เช่น “ข้าพเจ้ายินดีที่ถูกเชิญมาปาฐกถา”
ในภาษาไทยไม่นิยมใช้ “ถูก”
ในสิ่งที่ดีหรือเต็มใจ
9. อย่าใช้คำศัพท์ที่ยังไม่เข้าใจความหมายดีพอ
เช่นจะใช้คำว่า “ยกย่อง”
ก็เขียนคำว่า
“ยกยอ” หรือ “ดุษฎี” แทน “สดุดี” เป็นต้น ความหมายก็ผิดไป
10. ควรจดจำบทร้อยกรอง
เช่น กาพย์ กลอน
โคลง ฉันท์ ต่าง
ๆ ที่ไพเราะหรือ
มีคติ สอนใจเพื่อใส่ประกอบการเขียนเรียงความ
และอ้างอิงผู้เขียนด้วย ถ้าจำ
ไม่ได้ให้ใช้คำพูดว่า กวีโบราณกล่าวไว้ว่า
11. อย่าใช้สำนวนพุด
เช่น “เก่ง”
ต้องใช้ว่า “ฉลาด”
สำนวนพูดต่างๆ พอจะ
ยกตัวอย่างได้ดังนี้
ภาษาพูด
ภาษาเขียน
ผู้ร้าย
คนร้าย
ขี้เกียจ
เกียจคร้าน
ไปเมืองนอก
ไปต่างประเทศ
สูบยา
สูบบุหรี่
12. ควรเขียนเรียงความให้มีขนาดความยาวมากพอสมควร
คือโดยประมาณไม่ต่ำกว่า
2 หน้ากระดาษ
ไม่เว้นบรรทัด ถ้าเรียงความประกวดต้องทำตามกติกา
13. ต้องเขียนแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนลงในการเขียนเรียงความด้วย
และต้องเป็นความคิดเห็นที่เป็นกลางไม่เอียงซ้ายหรือเอียงขวาใด ๆ
และควรเป็น
ความคิดเห็นแบบสร้างสรรค์
14. ก่อนลงมือเขียนต้องวางโครงเรื่องให้เป็นระเบียบ
เป็นสัดส่วนเสียก่อน
15. ต้องตัดสินใจให้แน่นอนว่าจะเขียนเรื่องอะไร
ไม่สองจิตสองใจ
สรุป เมื่อได้หัวข้อเรียงความแล้วให้พิจารณาหัวข้อของเรียงความ
โดยตีโจทย์หัวข้อเรื่องของเรียงความให้กระจ่าง
ร่างโครงเรื่องให้เป็นระเบียบ และเรียบเรียงเนื้อความให้สมบูรณ์
ให้เรียงความนั้นงามด้วยรูป งามด้วยภาษา
และงามด้วยท่วงทำนองการเขียน
ครูต้องคำนึงถึงทฤษฎีเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองของ
ธอร์นไดด์คือ กฎแห่งความพร้อม (Law of
readiness ) มีหลักการว่า
ผู้ที่พร้อมเท่านั้นจะสามารถกระทำแล้วเกิดความพอใจ กฎแห่งการฝึกหัด (Law of exercise)
มีหลักการว่า ถ้าได้กระทำหรือฝึกฝนและทบทวนบ่อย ๆ
ก็จะกระทำได้ดีและเกิดความชำนาญ กฎแห่งผล
(Law of effect) มีหลักการว่า
ถ้าทำแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ก็อยากจะทำอีก
แต่ถ้าทำแล้วไม่ได้ผลดีก็ไม่อยากทำอีก และต้องอาศัยการ
“เลียนแบบ” ตามทฤษฎี Brain
Based Learning หรือ BBL กล่าวว่า สมองจะมีเซลสมองที่ทำหน้าที่คล้ายกระจกคอยสะท้อนภาพ
หรือ แบบที่เห็น แล้วเกิดการเลียนแบบเพื่อ “เรียนรู้” ดังนั้นการมีตัวอย่างเรียงความที่ดี ก็จะเป็นแบบอย่างให้นักเรียนได้ศึกษา
ทำให้เกิดการเลียนแบบตัวอย่างที่ดี และสร้างสรรค์ผลงานเขียนเรียงความใหม่ออกมาได้
ความรู้เรื่องการเขียนเรียงความดังกล่าวนี้ข้าพเจ้าได้จากการศึกษาอบรม
บ่มเพาะจากประสบการณ์การสอนนักเรียนที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี
มาเป็นระยะเวลาประมาณ 38 ปี
และนำไปทำประโยชน์คืออบรมสั่งสอนแก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องในเรื่องการเขียนเรียงความให้สำเร็จ ร่วมกับคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
ตั้งเป็นคณะวิทยากร ประกอบด้วยคุณครูจิรายุส
เพ็ญชรี คุณครูกมลรส มิ่งขวัญ คุณครูศิริเพ็ญ ไชยยนต์ ร่วมคณะเป็นวิทยากรในระดับโรงเรียน และขยายไปสู่ระดับเขตพื้นที่โดยตั้งเป็นคณะวิทยากรในนามชมรมครูภาษาไทย
สพท.อบ.1 มีคณะทำงานประกอบด้วยคุณครูวิมลฉัตร มีหนองหว้า
คุณครูสุกันย์ นางาม คุณครูประนอม สายแวว พัฒนาส่งเสริมนักเรียนจนได้รับการคัดเลือกเข้ารับทุนข้าราชการพลเรือนศึกษาต่อต่างประเทศหลายคน
เช่น นางสาวอรดาพร ผิวเงิน กำลังศึกษาต่อด้วยทุนรัฐบาลที่ประเทศญี่ปุ่น
นางสาวเพียงขวัญ อธิปัตยกุล ม. 6/1
ชนะเลิศการเขียนเรียงความ “เรื่องมุมมองของฉันที่มีต่อประชาคมอาเซียนในปี
ค.ศ. 2015 และอนาคตของอาเซียน” ได้เงินรางวัล 150,000 บาท
(หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) ฯลฯ