ประเพณีในเรื่องขุนช้างขุนแผน
ประสาร บุญเฉลียว (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ) นายกสมาคมครูมาสเตอร์ภาษาไทย
1. นางเทพทองฝัน
ประสาร บุญเฉลียว (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ) นายกสมาคมครูมาสเตอร์ภาษาไทย
1. นางเทพทองฝัน
ยังมีนกตะกรุมหัวเหม่ บินเตร่เร่เข้ามาในป่าใหญ่
อ้าปากคาบช้างแล้ววางไป เข้าในหอกลางที่นางนอน
2. ตอนตั้งครรภ์
จะกล่าวถึงนางเทพทอง
ท้องนั้นโตใหญ่ขึ้นค้ำหน้า
ลุกนั่งอึดอัดถัดไปมา
ให้อยากเหล้าเนื้อพล่าตัวสั่นรัว
3. ตอนคลอด
เมื่อถึงตอนคลอด
จะมีลมกัมมัชวาตหรือลมเบ่ง ช่วยให้คลอดตามธรรมชาติอยู่แล้ว
หมอตำแยเป็นเพียงผู้ที่ช่วยให้คลอดง่ายขึ้น
ดังคำกลอนที่ว่าไว้ตอนที่กำเนิดพลายแก้วว่า
“ลมกัมมัชวาตพัดกลับกลาย ลูกนั้นบ่ายศีรษะลงทวาร”
“ตกฟากเวลาสามชั้นฉาย” ชั้นฉายนี้วัดจากเงาของตนเอง ๑
ช่วงเท้าก็เท่ากับ ๑ ชั้นฉาย
4. หลังคลอด
เร็วเข้าเขาจะคลอดมึงอย่าช้า ฟืนตอนซื้อมาเอาไว้ไหน
เด็กเอ๋ยตั้งหม้อก่อเตาไฟ น้ำร้อนต้มไว้อย่าได้ช้า
“สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ลูกของใครรับไปเน้อ” ตอนนี้จะมีหญิงที่เลี้ยงลูกง่ายและมีความประพฤติดี
จะตอบว่า “ลูกข้าเอง” หมอตำแยจะส่งกระด้งให้ผู้นั้นรับไป
ผู้นี้เรียกว่า “แม่ยก” จะให้เงินหมอตำแยพอเป็นพิธีว่าซื้อไว้
5. การทำขวัญและการโกนผมไฟ
ศรีศรีวันนี้ฤกษ์ดีแล้ว
เชิญขวัญพลายแก้วอย่าไปไหน
ขวัญมาอยู่สู่กายให้สบายใจ
ชมช้างม้าข้าไททั้งเงินทอง
6. การตั้งชื่อ
บางครั้งตั้งชื่อตามเพศ
ตามลำดับที่คลอด ตามนิมิตฝัน ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือตาม
ลักษณะรูปร่างหน้าตา
และลักษณะบางอย่างของเด็ก ดังตัวอย่างเช่นการตั้งชื่อต่างๆของตัวละครในเรื่องขุนช้างขุนแผน
นอกจากนี้
ถ้าเด็กเจ็บป่วยบ่อยๆ หรือเห็นว่าชื่อเดิมไม่เป็นมงคล ก็อาจจะตั้งชื่อเสียใหม่ได้
เพื่อให้ผีเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนละคนกัน
จะได้ไม่ไปรบกวนทำให้เด็กเจ็บป่วยบ่อยๆ เช่น
นางพิมพิลาไลยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวันทอง
7. การโกนจุก
ทองประศรีดีใจไล่ฤกษ์ยาม
ได้สิบสามปีแล้วหลานแก้วกู
จะโกนจุกสุกดิบขึ้นสิบค่ำ
แกทำน้ำยาจีนต้มตีนหมู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น